วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

จิตอาสา คืออะไร และจิตอาสา 904 คืออะไร มีที่มาอย่างไร ?

จิตอาสา
ความหมาย นิยาม
                 จิตอาสา  หรือ  จิตสาธารณะ (Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล  และ บำรุงรักษาร่วมกัน 
                 จิตอาสา  หรือ  มีจิตสาธารณะ” ยังหมายรวมถึง  จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ แม้แต่การประหยัดน้ำ ประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษา ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม 
ที่มา :http://www.nitade.lpru.ac.th/2012/html/news9.html

 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ จิตอาสา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จิตอาสา

ตัวอย่างการทำจิตอาสา


ได้ไปทำจิตอาสากวาดขยะที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร วันที่ 31 สิงหาคม 2562
มีความรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม


โครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.
                 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยและทรงคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นสำคัญ และพระองค์มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้  หน่วยราชการในพระองค์ ร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ และประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มีจิตอาสา  บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชน  ปัญหาการจราจร และอื่น ๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ”
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จิตอาสา พระราชทาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จิตอาสา

จิตอาสา คืออะไร และจิตอาสา 904 คืออะไร มีที่มาอย่างไร ?

จิตอาสา ความหมาย นิยาม                  จิตอาสา  หรือ  จิตสาธารณะ (Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ...